สาเหตุอาจเกิดจาก : เกิดจากพื้นผิวของแผ่นจานเก็บข้อมูลของฮาร์ดดิส เกิดความเสียหาย โดยอาจเกิดรอยที่ผิวหรือเกิดจากเศษโลหะหรือฝุ่นขนาดเล็ก เกาะที่ผิวของจานเก็บข้อมูล
การแก้ไข :
1. ทำการ Mark BAD Sector โดยใช้โปรแกรมประเภท Scandisk ทำการ Scan โดยสามารถเรียกใช้โปรแกรมได้จาก Start Menu/Programs/Accessories/System tools/Scandisk และกำหนดค่าของโปรแกรมเป็น Thorough และ Automatically fix errors และกดปุ่ม Start
2. หากไม่มีความจำเป็น ต้องรักษาข้อมูลบนตัวฮาร์ดดิส ควรจะทำการ Full Format ใหม่ โดย Boot เครื่องด้วยแผ่น Startup Disk แล้วใช้คำสั่ง a:/format c:/s เพื่อทำการจัดเตรียมพื้นที่ใหม่โดยโปรแกรมจะทำการตรวจสอบพื้นผิวของแผ่นจานเก็บข้อมูลและเมื่อไม่สามารถอ่านพื้นผิวบริเวณใดก็จะระบุตำแหน่งจุดที่เสียบนพื้นผิวเพื่อที่โปรแกรม Windows จะไม่ไปใช้พื้นที่นั้นในการเก็บข้อมูล เมื่อโปรแกรมทำงานเสร็จสิ้นแล้วจะแสดงตารางแจ้งผลการทำงานหากมี Bad Sector ก็จะแสดงค่าที่เสียไปในตารางด้วย จากนั้นจึงติดตั้งโปรแกรม Windows ใหม่อีกครั้ง
3. ฮาร์ดดิสที่เกิด BAD Sector แล้วโดยส่วนใหญ่จะใช้งานได้อีกไม่นาน และมีโอกาสที่จะเกิดส่วนที่เสียเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้นจึงควรที่จะสำรองข้อมูลไว้ในสื่ออื่นด้วยเพื่อป้องกันข้อมูลที่จะเสียหายจากการที่ไม่สามารถอ่านฮาร์ดดิสได้อีก
การป้องกันปัญหา :
1. เพิ่มขนาดของหน่วยความจำหนักของเครื่อง(RAM) ให้มากขึ้น เช่น ในWindows 98 ควรมีหน่วยความจำอย่างน้อย 64 Mb เป็นอย่างต่ำหรือหากสามรถที่จะใส่เพิ่มมากกว่านี้ก็จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมให้เครื่อง และเพื่อลดการใช้งานของตัวฮาร์ดดิสลงด้วย เนื่องจากโดยปกติหากเครื่องมีหน่วยความจำน้อยโปรแกรม Windows จะสร้างหน่วยความจำเสมือนขึ้น (Virtual Memory)โดยการแบ่งพื้นที่บนตัวฮาร์ดดิสไว้ส่วนหนึ่งเพื่อใช้งานแทนหน่วยความจำหลัก และทุกครั้งที่มีการใช้งานโปรแกรมที่ต้องการหน่วยความจำมากๆ Windows ก็จะใช้งานหน่วยความจำเสมือนนี้ซึ่งก็จะเป็นการเขียนอ่านฮาร์ดดิสในตำแหน่งเดิมๆอยู่บ่อยครั้งขึ้นโอกาสที่จะเสียหายก็มีมากขึ้นนั่นเอง
2. ต้องทำการ Shout Down เครื่องก่อนปิดเครื่องทุกครั้ง
3. ควรที่จะตั้งโหมดการประหยัดพลังงานโดยการหยุดการทำงานของฮาร์ดดิสเมื่อถึงเวลาที่กำหนดเช่น โดยปกติการใช้งานเครื่องอาจจะมีการเปิดโปรแกรมที่ใช้งานทิ้งไว้และไม่ค่อยได้เรียกใช้โปรแกรมอื่นอีก หรือไม่ได้ใช้ฮาร์ดดิสเป็นเวลาสักระยะเช่น 20 - 30 นาที หากเราตั้งโหมดการทำงานให้เครื่องหยุดการทำงานของฮาร์ดดิสลง ก็จะเป็นการลดการใช้งานฮาร์ดดิส และยืดอายุการใช้งานของฮาร์ดดิสได้ยาวนานขึ้น แต่การทำดังนี้จะมีผลเมื่อต้องการใช้งานฮาร์ดดิสเช่น เรียกโปรแกรมหรือบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิส เครื่องจะต้องใช้เวลาเริ่มหมุนจานเก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสสักระยะ(ประมาณ 10-15 วินาที)ทำให้ผู้ใช้อาจรู้สึกว่าเครื่องทำงานช้าหรือผิดปกติได้
ข้อมูลจาก www.nongkhaiweb.com
ไวรัสคอมพิวเตอร์ ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือส่วนหนึ่ง ของรหัสคำสั่งที่ทิ้งไว้
เพื่อทำความเสียหายซึ่งจะพบแนบอยู่กับไฟล์ ในอดีต ไวรัสเกิด
จากผู้พัฒนา ซอฟแวร์ที่ต้องการป้องกันการถูก ละเมิดลิขสิทธิ์โดยการ
Copy จึงได้สร้างโค้ดที่มี ไวรัสขึ้น พร้อมกับกำหนดเวลาในการ
ทำลายโปรแกรม หากผู้ใช้ต้องการใช้งานโปรแกรมต่อ ก็ต้อง
ชำระเงินค่าลิขสิทธิ์ ทางผู้ผลิตก็จะส่ง Code ที่ ใช้ในการทำลาย
ไวรัส มาให้
ปัจจุบันไวรัสถูกสร้างขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ
มากมายหลายอย่าง ส่วนหนึ่งก็คือความอยากรู้อยาก ลอง มีโปรแกรมที่ช่วยให้สร้างไวรัสได้โดยง่าย
ตลอดจน Web Site เถื่อนบางแห่งที่สอนการเขียนไวรัส ดังนั้นเราจะพบว่าไวรัสในปัจจุบันเกิดขึ้นได้ง่าย
และมีความร้ายกาจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราอาจพบไวรัส เป็นส่วนหนึ่งของมาโคร ภายในแอพพลิเคชั่นไฟล์
เมื่อเข้าไปอยู่ในส่วนความจำ ไวรัสจะสามารถแพร่ไปติดไฟล์คำสั่งอื่นๆ เช่น Executable
file หรือพื้นที่บนดิสก์ในส่วนที่ใช้บูตเครื่อง ไวรัสในมาโครไฟล์สามารถแพร่กระจายไปได้อย่างง่ายดายเมื่อมีการเปิดไฟล์
ไฟล์ที่แนบมากับอีเมล์ก็เป็น อีกช่องทางหนึ่งที่ทำให้ไวรัสมาโครแพร่กระจายในระบบได้อย่างรวดเร็ว
อย่างไรถึงจะเรียกว่าไวรัส รหัสคำสั่งที่จะถูกเรียกว่าเป็นไวรัสนั้น
จะต้องสามารถเพิ่มจำนวนหรือติดต่อไปยังไฟล์หรือ ดิสก์อื่นๆ ได้ โดยทั่วไปไวรัสจะเพิ่มจำนวนขึ้นมาเรื่อยๆ
แต่ก็จะอยู่เฉยๆ จนกว่าจะมีการกระตุ้น โดยการ ตั้งวันที่ภายในระบบ หรือโดยการกระทำบางอย่างของผู้ใช้
นอกจากจะเพิ่มจำนวนแล้ว โดยปกติ คอมพิวเตอร์ไวรัสมักจะทำหน้าที่บางอย่าง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วก็คือการทำลายข้อมูลหรือก่อให้เกิดความรำคาญ
ไวรัสแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ- ไวรัสคอมพิวเตอร์(Computer
Virus) - ไวรัสคำสั่งจำพวกม้าโทรจัน (Trojan Horse) ไวรัสคอมพิวเตอร์
(Computer Virus) ต่างจากม้าโทรจัน
ตรงที่จะสามารถสำเนาตัวเอง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของโปรแกรมเข้าไปในหน่วย ความจำหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของโปรแกรมอื่น
แต่มีโปรแกรมที่จะกระทำเพียงสำเนาตัวเองไปเรื่อยๆ โดยไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อโปรแกรมอื่นๆ
อันนี้อาจจะเรียกว่า เวอร์ม (Worm) File Virus
เป็นไวรัสที่แบบตัวเองมากับไฟล์ประเภทโปรแกรมคำสั่ง Executable file(.EXE)
โดยแทรกคำสั่งเข้าไปในลำดับการทำงาน แล้วนำคำสั่งที่แนบมาในไฟล์ขึ้นมา เมื่อไฟล์ถูกเรียกให้ทำงาน
ไวรัส ก็จะเรียกคำสั่งของตัวเองขึ้นมาทำงานเสร็จแล้ว จึงกลับไปทำคำสั่งตามลำลับปกติเกิดขึ้นรวด
เร็วมาก จนผู้ใช้เองก็ไม่รู้ว่าไวรัสได้ทำงานไปแล้ว Boot
Virus จะเพิ่มคำสั่งเข้าไปในบูตเซ็กเตอร์ของแผ่นฟลอปปี้ดิสก์
บูตเซ็กเตอร์ หรือระเบียนบูตหลัก Partition Sector ของฮาร์ดไดรฟ์ เมื่อเปิดเครื่องและคอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลจากดิสก์ที่ติดไวรัส
เครื่องอ่านดิสก์นี้ก็จะติดไวรัสไปด้วย และบรรจุรหัสคำสั่งของไวรัสเข้าหน่วยความจำ
โดยแผ่น ฟลอปปี้ดิสก์นี้ไม่จำเป็นต้องถูกบูตก็จะสามารถทำให้ไวรัสแพร่กระจายได้ไวรัสจะคงติดอยู่ในส่วน
ความจำของเครื่อง และทำให้ฟลอปปี้ดิสก์ทุกแผ่นที่เข้าไปอ่านติดไวรัสได้โดยทั่วไปสิ่งที่กระตุ้น
Boot Virus คือวันที่หรือเวลาของระบบ
Multi-partite Virus ไวรัสประเภทนี้มีลักษณะผสมกันระหว่าง ไฟล์ไวรัสและบูตไวรัส
ซึ่งสามารถ แพร่กระจายเข้าไปใน Executable file ดังนั้น จึงสามารถแพร่ กระจายเข้าไปในเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว
Stealth Virus ไวรัสประเภทนี้จะซ่อนตัวโดยแอบเข้าแทรกเมื่อมีการเรียกให้ระบบทำหน้าที่บางอย่าง
ไวรัส ก็จะปลอมแปลงผลลัพธ์ ซึ่งดูเหมือนปกติทุกอย่าง ไวรัสที่หลบซ่อนแบบนี้ทำให้ไฟล์เสียโดยการแปลง
ขนาดของไฟล์ และที่ซ่อนการเปลี่ยนแปลงที่ทำกับบูตเซ็กเตอร์ และพยายามเบี่ยงเบนทำให้อ่านผิดที่
Polymorphic Virus
ไวรัสประเทภนี้เปลี่ยนรูปแบบไปทุกครั้งที่แพร่กระจาย ไวรัสแต่ละรุ่นที่เกิดใหม่จะปรากฏใน
ไฟล์ในรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างฯ กันไป ทำให้การตรวจจับโดยการเทียบรูปแบบของไวรัส
แบบเก่าใช้ไม่ได้ผลแล้ว Macro Virus
เริ่มปรากฏตัวขึ้นในปี 1995 ตัวอย่างไวรัสกลุ่มนี้ได้แก่ WORD. Concept
ซึ่งถือเป็นไวรัสที่มีมานาน ที่นอกจากจะส่งผลกระทบต่อ Executable file แล้วก็ยังส่งผลกระทบต่อมาโครในซอฟต์แวร์ไฟล์ธรรมดาด้วย
Macro Virus ต่างจาก Stealth Virus หรื Polymorphic Virus ตรงที่มาโครไวรัส
สามารถทำงานได้โดย ไม่ต้องการความเข้าใจหรือความซับซ้อนเท่าไหร่ แม้ว่าจะมีน้อยคนที่ได้รับความเสียหายร้ายแรงจาก
ไวรัสกลุ่มนี้ แต่มันก็ก่อให้เกิดความรำคาญ และก่อกวนประสิทธิภาพการทำงานอขงทั้งระบบผู้ใช้
และผูดูแลรักษาระบบ และอาจจะย้อนมาจัดการภายหลังก็ได้ ม้าโทรจัน
( Trojan Horses) ม้าโทรจันคือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วก็จะรอเวลา
โดยอาจจะมีระบบเวลาของตัว เอง เมื่อได้เวลาก็จะทำงานตาม ที่ถูกโปรแกรมไว้ โปรแกรมพวกนี้สามารถขโมยทรัพยากรของระบบ
หรือ ทำลายข้อมูลทำให้เกิดความเสียหาย แต่ไม่ถือว่าเป็นไวรัส เพราะมันไม่เพิ่มจำนวนทแต่ก็ยังถือว่ามีอันตรายอยู่ดี
เช่นคำสั่งพวก Logic bounds
การตรวจจับไวรัส
เนื่องจากในปัจจุบันมีไวรัสเกิดใหม่อยู่ตลอดเวลาว่ากันว่า 1 วันมีไวรัสคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นได้อย่างน้อย 1 ตัวและทางที่ไวรัสเหล่านี้จะเข้ามาสู่คอมพิวเตอร์ก็มีมากขึ้น การที่จะบอกได้ว่ารหัสคำสั่งใดเป็นรหัสแปลกปลอม หรือไวรัสจึงเป็นเรื่องที่ยากและซับซ้อนมากขึ้นเช่นกัน ทำให้โอกาสที่จะมีความผิดพลาดในการตรวจหาและกำจัดไวรัสมีมากขึ้นเช่นกันยิ่งไปกว่านั้นการตรวจจับเพียงอย่างเดียวไม่สามารถป้องกันไวรัสได้ เพราะไม่มีซอฟต์แฟร์ต่อต้านไวรัสตัวใดสามารถตรวจจับไวรัสได้ทุกตัวแต่อย่างไรก็ดี การใช้ซอฟต์แวร์มาช่วยในการตรวจจับไวรัสก็ยังเป็นวิธีที่ดีที่สุดเนื่องจากสามารถ อัพเดทให้ซอฟต์แวร์ให้รู้จักไวรัสที่เกิดใหม่ได้ตลอดเวลาจาก Web Site ของ ซอฟต์แวร์นั้นๆ
ตัวอย่างโปรแกรมตรวจจับไวรัส
1.Mcafee Virus Scan
ติดตั้งตัว ซอฟต์แวร์แล้วอย่าลืมอัพเดทซอฟต์แวร์
ด้วยการติดตั้ง Dat File ใหม่ด้วยนะครับ
ปกติทาง Macfee จะออก Dat File ตัวใหม่ออกมาเรื่อยๆ
สามารถเข้าไปดูได้ที่ www.mcafee.com
หรือจะ Download Dat File ของ Mcafee
จาก Download Center ของโครงการฯ ก็ได้เช่นกันครับ
Super Dat File
2.SyMantec ( Norton AntiVirus)
นี่ก็เช่นเดียวกันครับเมื่อทำการติดตั้งตัวซอฟต์แวร์แล้ว
ก็ต้องคอยอัพเดทตัวซอฟต์แวร์ให้รู้จักไวรัสตัวใหม่ๆ
http://www.symantec.com
อยากใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็น จะต้องทำอย่างไรกันบ้าง เริ่มต้นจากตรงนี้
หลาย ๆ คนที่ได้มีโอกาสใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ก็ทำได้แค่เพียงใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเครื่องสำเร็จรูปแล้วเท่านั้น วันดีคืนดี เจ้าคอมพิวเตอร์เครื่องเก่งมีอันต้องเกิดปัญหาขึ้นมา ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร หากคุณพอจะรู้จักกับอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมถึงซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นบ้าง คงจะช่วยได้มากใช่ไหมครับ
อย่างไรจึงจะเรียกว่า ใช้คอมพิวเตอร์เป็น
คำถามแรกเลย คุณใช้คอมพิวเตอร์เป็นหรือยัง คงจะไม่มีคำตอบที่แน่นอนตายตัว ว่าอย่างไรเรียกว่าเป็นนะครับ ในความคิดเห็นของผม หากคุณสามารถบอกได้ทั้งหมดว่า เครื่องคอมพิวเตอร์นั้น มีสเปคอย่างไร ใช้ซีพียู ความเร็วเท่าไร ขนาดของแรม ชนิดของการ์ดจอและการ์ดเสียง อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต่อใช้งานอยู่ ระบบปฏิบัติการ และซอฟต์แวร์ ที่ใช้งานอยู่มีอะไรบ้าง และที่สำคัญมากคือ จากจุดเริ่มต้น ถ้าฮาร์ดดิสก์ของคุณไม่มีอะไรอยู่เลย คุณสามารถที่จะลง Windows และโปรแกรมต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเองจบครบ ตามที่ต้องการใช้งานได้ สามารถใช้งานซอฟต์แวร์ ต่าง ๆ ตามความจำเป็น อาจจะไม่ต้องครบทุกอย่าง นั่นแหละ เรียกว่าใช้คอมพิวเตอร์เป็นในความคิดของผมครับ ลองสำรวจตัวคุณเองก่อน ว่าตอนนี้อยู่ในขั้นไหน ตรงไหนรู้แล้ว ตรงไหนยังไม่รู้ครับ
ลำดับการเริ่มต้นเรียนรู้คอมพิวเตอร์
มาดูลำดับการเริ่มต้นศึกษาหาความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์ก่อน ลองศึกษาทีละขั้นตอน อย่าข้ามนะครับ
1. ศึกษาการใช้งาน Windows ในเบื้องต้น โดยที่ควรจะสามารถใช้งานฟังค์ชันต่าง ๆ พื้นฐานได้พอสมควร
2. ศึกษาการใช้งาน ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่มีมากับเครื่อง เท่าที่คิดว่าจำเป็นและต้องการใช้งานเช่น internet, word, excel ฯลฯ
3. อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น printer, scanner, modem ที่มีต่ออยู่ ต้องรู้จักและใช้งานได้เต็มความสามารถ
4. สามารถทำการลงซอฟต์แวร์ใหม่ ๆ และทำการ Uninstall ออกได้ เน้นที่ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ยังไม่ถึงกับลง Windows ใหม่นะ
5. เริ่มต้นหัดลง Windows ด้วยตัวเอง จากการฟอร์แม็ตฮาร์ดดิสก์ ลบข้อมูลออกทั้งหมดและลง Windows ได้จนครบ
6. สามารถจัดการกับ ฮาร์ดดิสก์ ได้ตามต้องการ เช่นการกำหนดขนาด การแบ่งพาร์ติชันต่าง ๆ ตามต้องการ
7. เริ่มต้น การรื้อ ถอด ประกอบ ชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยเริ่มจากสายไฟต่าง ๆ สายจอ สายเมาส์ ฯลฯ
8. เปิดฝาเครื่อง ลองสำรวจอุปกรณ์ภายใน และทำความรู้จักว่า ชิ้นไหนคืออะไร ใช้สำหรับทำอะไร (มองเฉย ๆ อย่าเพิ่งรื้อนะครับ)
9. ตรวจสอบสเปคเครื่องอย่างละเอียด ว่าใช้อุปกรณ์ยี่ห้ออะไร รุ่นไหน ขนาดเท่าไรบ้าง เป็นบทเรียนเริ่มต้นด้านฮาร์ดแวร์นะครับ
10. เริ่มต้นการถอดเปลี่ยน ฮาร์ดดิสก์ ก่อน ศึกษาการต่อสายไฟ และสายข้อมูลต่าง ๆ (ฮาร์ดดิสก์ จะเป็นจุดแรกที่ควรทราบไว้)
11. หลังจากรู้จักฮาร์ดดิสก์ แล้ว การศึกษาตัว ซีดีรอม ฟลอปปี้ดิสก์ ก็คงจะไม่ยากนัก
12. ถ้ามีการ์ด ต่าง ๆ ที่เสียบอยู่บนเมนบอร์ด เช่นการ์ดจอ การ์ดเสียง โมเด็ม การทดลอง ถอด ใส่ ก็เป็นอีกบทเรียนหนึ่งที่ดีมาก ๆ
13. ซีพียู แรม ทดลองแงะออกมา แล้วใส่กลับเข้าไปใหม่ ให้คุ้นเคยมือเลยครับ
14. อุปกรณ์อื่น ๆ สายไฟของระบบ สายแพร สายเสียง ฯลฯ ดูให้ครบว่ามีอะไรบ้าง
15. สังเกตุ jumper ต่าง ๆ และลองเปิดคู่มือเมนบอร์ดมาอ่านดู ว่าแต่ละตัวใช้สำหรับทำอะไรบ้าง
16. นึกภาพ ว่าถ้าจะอัพเกรดเครื่อง เปลี่ยน ซีพียูใหม่ เพิ่มแรม ฯลฯ ต้องทำอะไรบ้าง หรือถ้ามีซีพียูตัวใหม่จริง ๆ ก็ลุยกันเลยครับ
17. ทำได้แค่นี้ ก็ถือว่าเก่งแล้วครับ ถ้าจะให้ดี ต้องถอดทุกชิ้นส่วนออกมา แล้วประกอบใหม่ ถ้าเครื่องใช้งานได้ แปลว่าคุณสอบผ่าน
18. หากสนใจเรื่องอินเตอร์เน็ต ก็ลองเขียนเว็บไซต์เป็นของตัวเองขึ้นมาซักเว็บนึง อาจจะมีไอเดียดี ๆ เกิดขึ้นต่อเนื่องได้ครับ
อ่านแล้วอย่าเพิ่งใจเสียกันนะครับ ทุก ๆ หัวข้อด้านบนนี้ ใช้เวลาศีกษาอย่างน้อยก็ ครึ่งปีขึ้นไป ดังนั้น ไม่ต้องฝันหวานกันเลย ว่าจะสามารถทำทุกอย่าง เรียนรู้ได้ภายใน 1 สัปดาห์ (แบบที่โรงเรียนสอนคอมพิวเตอร์ทั่วไป นิยมใช้พูดกัน) แต่ถ้าหากคุณ สามารถทำได้ทั้งหมดนี้ ก็จะเป็นความภูมิใจส่วนตัว ของคุณเองครับ ในส่วนของผม ก็คงจะทำได้แค่เพียง หาข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าสนใจ มาแสดงเป็นตัวอย่างและแนวทางให้ทุกท่านได้ทดลองทำกัน อาจจะมีบางเรื่องที่ตรงกับความต้องการบ้างไม่มากก็น้อย จะเริ่มต้นศึกษา ต้องลงทุนกันหน่อย มีคำถามทำนองนี้เข้ามาค่อนข้างบ่อยว่า อยากจะเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยแนะนำสถานที่สอนหรือโรงเรียนที่ดี ๆ ให้หน่อย โดยส่วนตัวผมเองแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์ที่คุณใช้งานนั่นแหละครับ คือครูที่ดีที่สุด เพียงแต่ว่า หากต้องการใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ในการศึกษาหาความรู้ ก็ต้องลงทุนกันหน่อย อย่าเพิ่งนึกว่าเป็นการลงทุนอัพเกรด หรือต้องซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ เพิ่มเติมนะครับ ผมหมายถึง การลงทุนโดยการลบทุกสิ่งทุกอย่าง ที่มีเก็บอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณออกให้หมด และเริ่มต้นจากการ ทำการติดตั้งและลงซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ด้วยตัวคุณเอง ถ้าหากได้ทดลองสักครั้งหนึ่ง ครั้งต่อ ๆ ไปก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยครับ คราวต่อไป ต้องการที่จะอัพเกรดเครื่องด้วยตัวเอง ก็ลองหาการ์ดต่าง ๆ แรม หรือซีพียู มาเปลี่ยนเอง จากนั้นความรู้และความชำนาญในด้านต่าง ๆ ก็จะตามมาเอง ไม่ยากหรอกครับ หากคิดว่ายากเกินไป ก็คงต้องหาเพื่อนที่พอเป็นมาเป็นพี่เลี้ยงในครั้งแรก ๆ ก่อนด็ดีครับ
บทสรุปส่งท้าย
การเรียนรู้ จะเกิดขึ้นได้จากการทดลอง หากต้องการเรียนรู้ต้องทำการทดลองด้วยตัวคุณเอง เว็บไซต์นี้ จะเป็นข้อมูลในเบื้องต้น สำหรับการเรียนรู้ของทุก ๆ ท่าน โดยผมจะพยายามเพิ่มเติมเนื้อหาให้ครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน ซอฟต์แวร์ ฮาร์แวร์ เทคนิคต่าง ๆ เท่าที่ผมเองพอจะทราบอยู่บ้าง อาจจะทำได้ช้าไปสักนิดก็คงไม่ว่ากันนะครับ เพราะเว็บไซต์นี้ ผมทำเองคนเดียว โดยใช้เวลาว่างจากงานประจำมาอัพเดทข้อมูล กำลังใจของผมก็คือ จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ครับ วันไหนเห็น ตัวเลขจำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บเพิ่มขึ้น ก็รู้สึกว่า สิ่งที่ได้ทำลงไป มีผู้คนสนใจและตั้งใจที่จะเรียนรู้มากขึ้นครับ ส่วนแบนเนอร์ของเว็บไซต์สปอนเซอร์ ที่ติดอยู่ด้านบนของแต่ละหน้าเว็บ ก็ขอฝากไว้ให้ช่วย ๆ กันดูแลกันบ้างนะครับ คลิกบ่อย ๆ หรือทุกครั้งที่แวะเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์นี้นะครับ ขอให้มีความสุขกับการ ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นะครับ
บทความพิเศษเรื่อง การเกิด bad ของฮาร์ดดิสก์ ที่น่าจะได้อ่านกัน
ตกลงกันก่อน บทความนี้ได้มาจากการที่มีผู้ใจดีมาโพสต์ไว้ในกระทู้ของ pantip.com ซึ่งเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจ และไม่อยากให้บทความดี ๆ ต้องสูญหายไป ดังนั้น จึงขอนำเอาข้อความที่มีผู้มาโพสต์นี้ เก็บไว้ในที่แห่งนี้ เพื่อเผยแพร่ครับ (ขอให้อ่านโดยใช้ความเชื่อของท่านเองนะครับ ว่าจะเชื่อหรือไม่ อย่างไร)
การ Low-level Format และ High-level Format
การ Low-lovel Format เป็นกระบวนการทำงานของฮาร์ดดิสก์โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างหรือกำหนด Track, Sector หรืออธิบายได้อีกอย่างว่าเป็นการเขียนโครงสร้างของ Track,Sector ตามรูปแบบที่ Firmware ภายในฮาร์ดดิสก์ได้กำหนดไว้ เพื่อให้การทำงานของกลไกภายในกับวงจรควบคุมหรือ PCB สอดคล้องเป็นระบบเดียวกัน ซึ่งการ Low-level Format นั้นเป็นการลบข้อมูลทุกสิ่งทุกอย่าง โดยที่ข้อมูลทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกลบไปอย่างถาวรจริง ๆ ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจกันเสียก่อนว่า การ Low-level Format นั้น เป็นกระบวนการทำงานหรือเป็นคำสั่งของฮาร์ดดิสก์รุ่นเก่า ที่ยังใช้ Actuator แบบ Stepper Motor ,ใช้ระบบ Servo เก่า ๆ แบบ Dedicated Servo, มีการใช้โครงสร้างของ Track, Sector แบบเก่า ซึ่งฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบันนี้ไม่ใช่และไม่เหมือนกันเลย การใช้ Stepper Motor เป็น Actuator ของฮาร์ดดิสก์รุ่นเก่า ๆ นั้น มีข้อเสียหรือจุดอ่อนตรงที่เมื่อเราใช้ไปนาน ๆ เฟืองกลไกภายใน Motor จะหลวม ทำให้การควบคุมให้หัวอ่าน/เขียนอยู่นิ่ง ๆ บน Track (ที่จะอ่านข้อมูล)เป็นไปได้ยาก และอีกสาเหตุที่กลไกหลวม ก็เพราะอุณหภูมิที่สูงซึ่งเกิดจากการที่ตัว Actuator เคลื่อนที่ไปมาเพื่อหาข้อมูล แน่นอนครับ มันเป็นโลหะที่ต้องมีความร้อนเกิดขึ้น เปรียบเทียบก็เหมือนกับ Ster รถจักรยานหรือรถจักรยานยนต์ ที่ต้องรูด เมื่อเจอกับโซ่ที่ลากผ่านไปมาเป็นเวลานาน ๆ และก็เป็นสาเหตุให้หัว/อ่านเขียน ไม่สามารถอ่านข้อมูลได้อย่าง ถูกต้อง ยิ่งนับวันอาการก็จะรุนแรงมากขึ้น อีกประการหนึ่งที่การ Low-level Format ไม่สามารถนำมาใช้กับ ฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ได้ก็เพราะโครงสร้างการจัดวาง Track, Sector ไม่เหมือนกัน ฮาร์ดดิสก์รุ่นเก่าจะมีจำนวนของ Sector ต่อ Track คงที่ ทุก ๆ Track แต่ในฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ จำนวนของ Sector จะแปรผันไปตามความยาว ของเส้นรอบวง (ของ Trackนั่นแหละครับ) ยิ่งต่างรุ่นต่างยี่ห้อต่างความจุ ก็ยิ่งต่างไปกันใหญ่ หากเราฝืนไป Low-level Format ผมบอกตรง ๆ ครับว่านึกไม่ออกว่าจะเกิดอะไรขึ้น ฮาร์ดดิสก์อาจไม่รับคำสั่งนี้เพราะ ไม่รู้จักหรืออาจรับคำสั่งแล้วแต่ไม่รู้จะทำอย่างไร จนอาจจะทำให้วงจรคอนโทรลเลอร์ (PCB) สับสนกันเอง (ระหว่าง IC) จนตัวมันเสียหายก็ได้ แต่ถ้าฮาร์ดดิสก์ของเพื่อนท่านใดเป็นรุ่นเก่า ซึ่งมีลักษณะตรงกับที่ผมเอ่ยมา และมี BIOS ที่สนับสนุนก็สามารถ Low-level Format ได้ครับ (เช่น คอมฯ รุ่น 286 ของผม Hdd 40MB.) เราจะเห็นได้ว่า BIOS รุ่นใหม่จะไม่มีฟังก์ชั่น Low-level Format แล้ว เพราะ BIOS ก็ไม่อาจที่จะรู้จักโครงสร้าง Track, Sector ของฮาร์ดดิสก์ได้ทุกยี่ห้อ ทุกรุ่นเพราะความต่างอย่างที่ผมบอกไว้ละครับ กลับมาสู่ความจริงของความรู้สึกเรากันหน่อยนะครับ ซึ่งผมเข้าใจดีว่า เพื่อน ๆ ทุกคนหากเมื่อเจอ Bad Sector ในฮาร์ดดิสก์ของตัวเองย่อมใจเสียแน่นอน เพราะข้อมูล ที่อยู่ข้างในนั้นมีผลกับจิตใจ กับความรู้สึกของเรามาก และเราต้องการที่จะได้มันคืน และในตอนนั้นเราก็ไม่ได้คิด ถึงด้วยซ้ำว่าเราซื้อมันมาแพงแค่ไหน และถ้าหากเราได้ยิน ได้ฟังอะไรที่เล่าต่อกันมาว่า มันสามารถที่จะทำให้ฮาร์ดดิสก์ของเราดีเช่นเดิมได้ เราย่อมให้ความสนใจ อยากลอง อยากได้ อยากมี แต่เพื่อน ๆ ครับ อย่างที่ผมบอกละครับว่าการ Low-level Format นั้นใช้ไม่ได้กับฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ ๆ ตัวผมเองก็เป็น Salary Man หรือมนุษย์ เงินเดือนเหมือนเพื่อน ๆ ละครับ ผมรู้สึกเสียดายเป็นเช่นกัน แต่เมื่อผมมาถึงจุด ๆ หนึ่งที่รู้ว่าเราไม่สามารถเอา สนามแม่เหล็กมาเรียงให้ดีเหมือนเดิมได้ และไม่มีเครื่องมืออะไรที่จะมาช่วยได้ด้วย ผมก็ต้องปลง และถนอมมัน ให้ดีที่สุด เอาละผมขอพากลับมาที่เนื้อหากันต่อนะครับ
การ High-level Format หรือการ Format (หลังจากการแบ่ง Partition แล้ว) ที่เราเรียกกันอยู่บ่อย ๆ โดยใช้ DOS นั้นมีจุดประสงค์เพื่อทำการเขียนโครงสร้างของระบบไฟล์ (FAT: File Allcation Table ซึ่งมีทั้ง FAT32 และ FAT16) และเขียน Master Boot Record (ซึ่งเป็นพ.ท.ที่จะเก็บแกนหลักของระบบปฏิบัติการเช่น DOS) การ Format นี้นั้นฮาร์ดดิสก์จะไปลบ FAT และ Master Boot Record ทิ้งไป แต่มันไม่ได้ทำการลบทุกสิ่งทุกอย่าง เหมือนดังเช่นเรากวาดของบนโต๊ะทิ้งไปจนเหลือแต่พื้นเรียบๆ มันแค่ทำการเขียนข้อมูล "0000" ลงไปบนแผ่นดิสก์ เท่านั้น ซึ่งคำว่า "เขียนข้อมูล 0000 ก็คือการFormat ของเรานั่นแหละครับ" ดังนั้นหากใครคิดว่าการ Format บ่อย ๆ นั้น ไม่ดีก็... (ผมขอไม่ตอบเพราะมันเป็นเรื่องนานาจิตตังครับ) เพื่อน ๆ บางคนถามในกระทู้ว่า Virus ทำให้เกิด Bad Sector ได้หรือไม่ ผมขอตอบว่าไม่ แต่มันทำให้ ฮาร์ดดิสก์เสียได้ครับ เพราะการที่มันเข้าไปฝังที่ Master Boot Record ครับ ก็ต้องแก้กันโดยการ Fdisk กำหนด Partition กันใหม่ และVirus ก็เป็นเพียงแค่ข้อมูล ๆ หนึ่งที่เราจะลบทิ้งไปก็ได้ และ Virus จะเข้าไปใน Firmware และSystem Area ของฮาร์ดดิสก์ก็ไม่ได้เด็ดขาด เพราะ Firmware ของฮาร์ดดิสก์จะไม่ยอมให้แม้กระทั่ง BIOS ของคอมฯเห็น Cylinder นี้ซึ่งเสมือนว่า Cylinder นี้ไม่มีอยู่จริง การที่ฮาร์ดดิสก์พบ Bad Sector นั้น มันจะทำการทดลองเขียน/อ่านซ้ำ ๆ อยู่พักหนึ่งจนกว่าจะครบ Loop ที่ กำหนดแล้ว ว่าเขียนเท่าไหร่ก็อ่านไม่ได้ถูกต้องซักที ฮาร์ดดิสก์ก็จะตีให้จุดนั้นเป็นจุดต้องห้ามที่จะเข้าไปอ่านเขียนอีก แต่ถ้าข้อมูลสามารถกู้คืนมาได้มันก็จะถูกย้ายไปที่ ๆ เตรียมไว้เฉพาะ เมื่อฮาร์ดดิสก์ตีว่าจุดใดเสียแล้วมันจะเอาตำแหน่งนั้นไปเก็บที่ System Area ซึ่งข้อมูลที่บอกว่ามีจุดใดที่เสียบ้างนั้นจะถูกโหลดมาทุกครั้งที่ฮาร์ดดิสก์ Boot และเราไม่สามารถเข้าไปแก้ข้อมูลนี้ได้ด้วยครับ Norton ก็ทำไม่ได้ สิ่งที่มันทำ ก็ทำได้แค่ Mark ไว้แล้วก็เก็บข้อมูล นี้ไว้ จากนั้นก็ทำเหมือนกับที่ Firmware ฮาร์ดดิสก์ทำ คือไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว พ.ท.นี้อีก หรือหลอกเราว่าไม่มี พ.ท.เสีย เกิดขึ้นเลย การ Format ด้วย DOS ก็แก้ไขไม่ได้เช่นกันครับ เพื่อน ๆ บางคนคิดว่าหากมี Bad Sector แล้วมันจะขยายลุกลามออกไป ผมขอตอบว่าไม่จริงครับ เราไม่ควรลืม ว่า บนแผ่นดิสก์นั้นคือสารแม่เหล็กที่ฉาบอยู่ และมันหลุดได้ยาก ต่อให้หลุดแล้วก็ลามไม่ได้ด้วยนะครับ ไม่เหมือน กับโรคผิวหนังครับ ผมขอจบลงเท่านี้ละครับ การซ่อมฮารด์ดิสก์ โดยแก้ไขไม่ให้มี Bad Cluster หรือ Bad Sector
ผมขอชี้แจงเรื่อง การซ่อมฮารด์ดิสก์ โดยแก้ไขไม่ให้มี Bad Cluster หรือ Bad Sector ให้เพื่อน ๆ เข้าใจสักหน่อยนะครับว่า การที่ฮารด์ดิสก์มี Bad Cluster หรือ Bad Sector นั้น เราไม่สามารถที่จะแก้ไขไม่ให้มันหายไปได้ เพราะการทำงานของ Firmeware ในฮารด์ดิสก์จะกำหนดไว้ว่า ถ้าหากหัวอ่าน/เขียนของมัน พบปัญหา เช่นอ่านแล้วข้อมูลไม่ถูกต้อง และวงจรตรวจสอบที่อยู่บน PCB มันใช้ ECC หรือ CRC หรือ Read Retry (หรือวิธีอื่น ๆ ที่แล้วแต่เทคโนโลยีของ บ. ผู้ผลิต) เข้ามาช่วยแล้วแต่แก้ไขไม่ได้ ฮารด์ดิสก์จะตีว่า พ.ท.นั้นเป็น Defect หรือกำหนดให้เป็นจุดเสียที่มันจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวอีก และข้อมูลที่เอาไว้บอกตัวฮารด์ดิสก์เองว่าจุดใดบ้างที่เสียนั้น จะเก็บไว้ที่ System Area ซึ่งเป็น Cylinder ที่เราจะเข้าไปแก้ไขข้อมูลในจุดนี้ไม่ได้เลย เพราะเป็น Cylinder ที่ฮารด์ดิสก์กันเอาไว้ให้ตัวของมันเองโดยเฉพาะ และทุกครั้งที่ฮาร์ดดิสก์บูตมันจะต้องเข้าไปอ่านข้อมูลที่ System Area แล้เอามาเก็บที่ Ram เพื่อที่จะบอกกับตัวมันเองว่ามี พ.ท. ตรงไหนบ้างที่ห้ามเข้าไปอ่าน/เขียน การที่จะเข้าไปแก้ข้อมูลในจุดนี้ต้องใช้เครื่องที่โรงงานผู้ผลิตนั้นออกแบบมาโดยเฉพาะ และต่อให้เราเข้าไปแก้ได้ก็ไม่มีประโยชน์เพราะ พ.ท.ตรงนั้นอาจมีสิ่งสกปรกติดอยู่ หรือสนามแม่อาจถูกกระทบกะเทือนจนหลุดออก ซึ่งเป็นชิ้นเล็กที่ตาเปล่ามองไม่เห็น และในความเป็นจริงยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีกมากที่ทำให้เกิด Bad Cluster หรือ Bad Sector ก็ตามแต่จะเรียก สิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดคือ ห้ามกระแทกฮารด์ดิสก์แรง ๆ ไม่ว่ามันจะทำงานอยู่หรือไม่ก็ตาม และเมื่อคุณจับมันก็ไม่ควรจับที่ PCB เพราะไฟฟ้าสถิตย์ในตัวเราอาจวิ่งไปยังวงจรที่ PCB แล้วทำให้ IC เสียหายได้ และจุดนี้เองที่ร้านที่ทำให้เกิดร้านรับซ่อมฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเขาเพียงแค่อาศัยการเปลี่ยนแผ่น PCB ที่ประกบอยู่โดยการหารุ่นและยี่ห้อที่ตรงกันมาเปลี่ยน ง่าย ๆ เท่านี้เอง และการที่เราคิดว่าแผ่นดิสก์ภายในมีรอยก็น่าจะเปลี่ยนได้ ผมขอบอกเพื่อน ๆ ว่าเป็นไปไม่ได้เด็ดขาดที่จะเปิด Cover หรือผาครอบมันออกมาแล้วเอาแผ่นใหม่ใส่เข้าไป เพราะบนแผ่นดิสก์ทุกแผ่นและทั้งสองด้านของแผ่นจะมีสัญญาณ Servo เขียนอยู่ ซึ่งสัญญาณนี้จะถูกเขียนในลักษณะตัดขวางเหมือนกับการแบ่งเค้กกลม ๆ ออกเป็นส่วน ๆ โดยที่สัญญาณนี้จะต้องตรงกันทุกแผ่นจะวางเยื้องกันไม่ได้เลย เพราะเครื่องเขียนสัญญาณกำหนดให้ต้องตรงกัน ซึ่งผมขอเปรียบเทียบกับล้อรถยนต์ที่ต้องมีจุ๊บเติมลม ที่เราต้องเอาจุ๊บของล้อทุกล้อมาวางให้ตรงกันเพื่อที่จะบอกให้ PCB ได้รับทราบว่าจุดเริ่มต้นของดิสก์หรือ Sector 0 หมุนไปอยู่ที่ใดบนแผ่นดิสก์ และสัญญาณนี้ไม่สามารถมองให้ได้ด้วยตาเปล่าต่อให้เอากล้องจุลทรรศมาส่องก็ไม่เห็น การที่เราจะจับฮารด์ดิสก์ให้มีความปลอดภัยนั้นตัวเราต้องลงกราวนด์ นั่นคือเท้าเราต้องแตะพื้นให้ไฟฟ้าสถิตย์จากตัวเราไหลลงพื้นดิน เพื่อน ๆ อาจนึกไม่ถึงว่ามันจะมีผลมากถึงขนาดว่าทำให้ฮารด์ดิสก์เสีย แต่เราอย่าลืมว่ากิจกรรมในชีวิตประจำวันของเราไปจับโลหะอะไรมาบ้างแล้วมันถ่ายเทประจุให้เราเท่าไหร่,จะมีผลต่อสิ่งอื่น ๆ ไหมเราไม่รู้เหมือนกับรถบรรทุกขนถ่ายน้ำมัน ที่เวลาวิ่งต้องเอาโซ่ลากไปตามถนนเพื่อระบายประจุ หรือทำให้เกิดความต่างศักย์น้อยที่สุด หรือเป็นศูนย์เพราะมันอันตรายมากที่เวลาเอาหัวจ่ายน้ำมันรถไปต่อกับวาลว์รับน้ำมัน ซึ่งอาจเกิดประจุไฟ้ฟ้าวิ่งจากศักย์สูงไปศักย์ต่ำแล้วเป็นประกายไฟ เพราะเวลารถวิ่งไปชนอากาศที่มีประจุลอยอยู่มันก็จะสะสมไปเรื่อย ๆ ผมอยากบอกกับเพื่อน ๆ ว่าผมก็เสียดายมาก ๆ หากฮารด์ดิสก์ของผมเกิด Bad Sector ขึ้นมาแต่ก็ต้องทำใจยอมรับ เนื่องจากมันแก้ไขไม่ได้จริง ๆ ต่อให้เอาเครื่องมือในโรงงานมากองต่อหน้าผมแล้วให้ผมอยู่ใน Clean Room ผมก็ทำไม่ได้ (ยกเว้นนั่งรื้อชิ้นส่วนออกหมดแล้วเอาแผ่นดิสก์ใหม่มาใส่เพราะเครื่องเขียน Servo อยู่ในนั้น) แต่การที่เราจะเลี่ยงไม่ใช้ พ.ท.ที่เสียอยู่ในตอนอื่น ๆ ของข้อมูลนั้นก็ทำได้เช่นแบ่งพาร์ทิชั่นออกเป็นส่วน ๆ โดยให้พาร์ทิชันที่เราไม่ต้องการครอบตรงจุดเสียไว้ หรือถ้าหากเราต้องการกู้ข้อมูลที่มีความสำคัญมาก ๆ ก็ต้องใช้ Software ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เช่น Spinrite หากถามว่าทำไม บ.ผู้ผลิตไม่ออกแบบให้ฮาร์ดดิสก์แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องเสียก่อน หรือให้มันสามารถกู้ข้อมูลได้เล่า คำตอบก็เป็นเพราะมันทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น, และทำให้ระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตหรือกว่าที่จะออกจำหน่ายได้ช้าออกไปอีก ,ทำให้ความเร็วในการทำงานลดลงด้วย และมีอีกหลาย ๆ อย่างที่ผมพิมพ์ไม่ไหวแล้ว ผมหวังว่าการที่ผมบอก Email Address ไว้นั้นจะทำให้เนื้อหานี้มีความน่าเชื่อถืออยู่บ้างนะครับ
ป.ล.หากอ่านแล้วไม่เข้าใจ ผมก็ขอโทษทีเพราะตอนนี้ง่วงมาก ๆ แล้วครับ อ้อ! อีกอย่างครับเกือบลืมบอกไปว่าผมเคยทำงานอยู่ Failure Analysis มีหน้าที่วิเคราะห์หาจุดเสียของฮาร์ดดิสก์... (เอาแค่หน้าที่เดียวก็พอเนาะ) ด้วยความหวังดีกับทุก ๆ คนครับ (ประโยคนี้เชยแต่ตรงกับความรู้สึกผมดี)
คำถาม
ฮาร์ดดิสก์ที่พึ่งซื้อมาทำไมถึงมีแบดได้ครับใครที่รู้เกี่ยวกับฮาร์ดดิสช่วยแนะนำหน่อยครับ
คำตอบ
เท่าที่ทราบนะคะ มันมี Bad Sector มาตั้งแต่อยู่ขั้นตอนผลิตที่โรงงานแล้วค่ะ ก่อนที่จะนำออกจำหน่าย เค้าจะทำ Low Level Format และ mark ส่วนที่เป็น Bad sector ทิ้งไป ดังนั้นฮาร์ดดิสค์แต่ละตัว ถึงแม้จะรุ่นเดียวกัน ยี่ห้อเดียวกัน จำนวน Cylinder, Head ฯลฯ เท่ากัน แต่ความจุที่แท้จริงอาจไม่เท่ากันก็ได้ค่ะ เรื่องนี้ จริงๆแล้วก็ทำนองเดียวกับ CPU รุ่นเดียวกันแต่แยกขายที่ความเร็วนาฬิกา ต่างๆกันเป็นช่วงๆ เช่น 200 MHz, 233MHz, 266 MHz, 300MHz ฯลฯ ซึ่งจริงๆแล้ว CPU พวกนี้ก็ทำมาจากแผ่นเวเฟอร์เดียวกัน โรงงานเดียวกัน เพียงแต่ พอผลิตออกมาแล้ว ไม่ผ่านการทดสอบคุณภาพที่ความถี่สูง เค้าก็ลดการทดสอบลงมา จนถึงความถี่ที่ผ่านการ ทดสอบ เค้าก็แปะตราว่ารับรองว่า CPU ตัวนี้ (หรือ lot นี้) ใช้ได้ที่ความถี่ที่ทดสอบ แต่ก็เป็นไปได้ว่า เรายังสามารถ Over Clock ขึ้นไปได้อีก (คือใช้ที่ความเร็วมากกว่า ที่เค้าระบุ) เผื่อแจ๊คพอทน่ะค่ะ เพราะการควบคุมคุณภาพ เค้าเฉลี่ยที่ทั้ง lot ซึ่งไม่ได้ หมายความว่าทุกตัว สรุปว่า คุณโชคดีค่ะ ที่แจ๊คพอทไปเจอที่เค้าตรวจ Bad sector ไปแล้ว แต่กว่าจะ ผ่านมาถึงมือคุณ มันเกิด Bad sector เพิ่มน่ะค่ะ จาก
เคยได้ยินมาเหมือนคุณ แ ต ง ก ว า ฮาร์ดดิสค์จะถูกออกแบบให้มีความจุ มากกว่าขนาดที่ระบุนิดหน่อย สำหรับเผื่อให้กับ bad secter ที่อาจจะมี ถ้าฮาร์ดดิสค์นั้นยังมีเนื้อที่ส่วนที่ดีมากกว่าขนาดที่ระบุก็ถือว่าผ่านมาตรฐาน สามารถขายได้ไม่ผิดกฏหมาย และไม่ถือว่าเป็นการเอาเปรียบผู้ซื้อด้วย
ฮาร์ดดิสก์จะมี bad sector อยู่เกือบทุกตัวอยู่แล้ว จะมีไม่กี่ตัวที่ไม่มี bad sector เลย เขาจะกันไว้เอาไปทำฮาร์ดดิสก์ความเร็วสูง ส่วนพวกธรรมดาเมื่อผ่านขึ้นตอนการผลิตในโรงงาน เขาจะทำเครื่องหมายไว้ ทำให้เครื่องมองไม่เห็น และเครื่องไม่ควรจะเห็น คราวนี้ถ้าเครื่องมองเห็น แสดงว่ามีการผิดปกติ ซึ่งไม่เป็นไร เพราะถ้าใช้ Dos หรือ วินโดวส์ ฟอร์แม็ตมันจะกันไว้อีกที แล้วก็ใช้ได้อย่างปกติ ไม่มีปัญหาเพราะเครื่องจะไม่มองและไม่ใช้ ปัญหาจะมีก็ตรงที่ใช้ๆ ไป กลับมี bad sector มากขึ้น หรือใช้ๆ ไปจู่ๆ เกิดฟ้องว่ามี bad sector แสดงว่าเริ่มมี bad sector เกินขึ้นตรงในส่วนที่ดี งานนี้ต้องส่งโรงงานซ่อมเท่านั้น ทำไฟล์สำรองจากฮาร์ดดิสก์แล้วส่งซ่อมเท่านั้นครับ
คุณกาละมะชนพูดถูกครับ HDD ปัจจุบันจะมี spare sector ที่ไม่ใช้สำรองไว้อยู่ ถ้าเกิดมี sector เสีย controller บน HDD จะ mark ไว้ และเอา spare sector ที่เหลือมาใช้แทน กลไกนี้จะทำงานโดยอัตโนมัติในตัว HDD เราไม่อาจสังเกตหรือรู้ได้เลย และนี่เป็น เหตุผลสำคัญที่ผู้ผลิตห้ามไม่ให้ผู้ใช้พยายาม low-level format HDD แถม HDD ปัจจุบันมักจะเสียแล้วเสียเลย ซ่อมไม่ได้อีกแล้ว เพราะ controller ไม่ยอม ให้เปลี่ยนแปลงข้อมูลตำแหน่ง sector เสียตรงนี้ได้ ว่าแต่คุณเจ้าของกระทู้ขน HDD ยังไงครับ การขนย้าย HDD ผิดวิธีอาจทำให้มัน ถึงกับพังได้ ผมเคยเห็นบางคนขน HDD ยังกะขนหนังสือธรรมดา ที่แนะนำก็คือ ใส่กล่อง seashell หรือถุงกันไฟฟ้าสถิตย์และหุ้มฟองน้ำกันกระแทกครับผม และ อย่าเขย่าหรือไปเจอกับแรงสะเทือน คิดซะว่ามันเปราะกว่าแก้วไวน์